สุดยอด อาหารโรคมะเร็ง ในปี 2022 จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน ! การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเป็นเรื่องสำคัญ และอาหารโรคมะเร็ง ที่ดีควรเป็นอย่างไร

อาหารโรคมะเร็ง

อาหารโรคมะเร็งเป็นอาหารเฉพาะโรคที่ออกแบบมาสำหรับสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer) โดยเฉพาะ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเจริญเติบโตหรือกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ภายในร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นก้อนเนื้อร้าย จนในที่สุดเซลล์ในก้อนเนื้อนั้นจะตายไป เพราะเลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงได้ โดยก้อนเนื้อร้ายเหล่านี้สามารถลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถควบคุมขอบเขตของการแพร่กระจาย จึงทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่ายกายได้รับเชื้อและกลายเป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของผู้ป่วยมะเร็ง แต่ทางการแพทย์เชื่อว่ามีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้เกิดโรคนี้ โดยแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารเคมีบางชนิดที่พบได้ในขบวนการทางอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เขม่ารถยนต์ เชื้อรา เนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม สีย้อมผ้า รังสีต่าง ๆ  รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด รวมทั้งการติดเชื้อเรื้อรัง และพยาธิสะสมในร่างกาย ส่วนสาเหตุภายในร่างกาย พบได้จากพันธุกรรมที่ผิดปกติ ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง การระคายเคืองที่เกิดซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน และภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น

 

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตลอดจนผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย สามารถดูแลสุขภาพและอาหารการกิน โดยเลือกอาหารโรคมะเร็งโดยเฉพาะและวัตถุดิบที่มีส่วนช่วยต้านเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ดังนี้

 

  1. ทานอาหารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) เป็นสารที่สามารถยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและความเสื่อมสภาพของเซลล์ อันเป็นสาเหตุโรคชราและความเสื่อมของร่างกาย อาหารโรคมะเร็งที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้มักพบในผักผลไม้หลากสี เช่น

  • มะเขือเทศ มีสารไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
  • ฟักทองและแครอท มีสารแคโรทีนอยด์ (Beta – Carotene) และวิตามินต่างๆ ที่สามารถต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระ
  • คะน้า บรอกโคลี ผักบุ้ง กวางตุ้งและตำลึง ที่มีมีวิตามินซี วิตามินเอ และพิกเมนต์คลอโรฟิลล์มีส่วนช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • กะหล่ำสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว สีม่วงในดอกอัญชัน มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่สามารถยับยั้งสารก่อมะเร็งได้
  • มะเขือเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค (ยอด) มีสารเบตาแคโรทีนสูงและมีช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
  1. ทานอาหารธัญพืชและเส้นใย

ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี หรือขัดสีน้อยที่สุด ทำให้ยังคงมีคุณค่าทางสารอาหารสูง เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ เส้นใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งพบได้มากในข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ลูกเดือย เป็นต้น จึงนิยมนำมาประกอบอาหารโรคมะเร็ง นอกจากอาหารธัญพืชและเส้นใยจะช่วยขับสารที่เป็นโทษซึ่งเกาะอยู่ตามลำไส้ออกไป ยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในทางเดินอาหารอีกด้วย

  1. ทานอาหารที่ปรุงรสจากเครื่องเทศ

เครื่องเทศอุดมด้วยสารอาหารจากพืชหลากหลายชนิด รวมถึงสารประกอบ และน้ำมันหอมระเหยที่เฉพาะตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant) อีกทั้งยังมีรสชาติเผ็ดร้อน จึงนิยมนำมาปรุงประกอบอาหารโรคมะเร็ง เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นรสในอาหาร ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารแก่ผู้ป่วยมะเร็งได้เป็นอย่างดี  จึงนิยมนำมาปรุงประกอบอาหารโรคมะเร็งเพื่อเพิ่มรสชาติในอาหาร

  1. เลี่ยงอาหารบางประเภท

ในการปรุงอาหารโรคมะเร็ง อันดับแรกคือไม่ควรรับประทานอาหารที่ปิ้งย่างจนไหม้เกรียม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว ลดการบริโภคเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เพราะอาจทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งทวารหนัก รวมถึงเลี่ยงอาหารที่หวาน มัน เค็ม และอาหารหมักดอง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต

 

ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโมควรทานอะไร?

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม ควรรับประทานอาหารโรคมะเร็งที่มีสารอาหารครบถ้วน เน้นปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุล เพื่อเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวให้แข็งแรง แต่ในระยะนี้ผู้ป่วยมะเร็งอาจมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำคีโม เช่น เบื่ออาหาร เจ็บปาก การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลียและง่วงซึม เป็นต้น หากมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงแพทย์อาจสั่งให้ทานอาหารเหลวใส เหลวข้น เช่น น้ำข้าวต้ม ซุปน้ำใส ซุปฟักทอง เมื่ออาการเริ่มปกติขึ้นจึงค่อยทานอาหารอ่อนเคี้ยวง่ายและทานอาหารปกติได้ตามลำดับ

เมื่ออาการฟื้นตัวดีขึ้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรทานอาหารที่มีสารครบถ้วน โดยจะเน้นไปที่อาหารประเภทที่ให้พลังงานและมีโปรตีนสูง เช่น เนื้อ นม ไข่ ขนมปัง ธัญพืช รวมถึงผักผลไม้ที่มีวิตามิน แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลงหลังการทำคีโม

ตัวอย่างเมนูอาหารโรคมะเร็งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับคีโม

  • สปาเกตตีโฮลวีทซอสมะเขือเทศกุ้ง
  • ทาร์ตไข่อบควินัว
  • สปาเกตตีโฮลวีทผัดพริกแห้งไก่
  • วุ้นเส้นผัดเต้าหู้ 5 เซียน
  • ข้าวผัดกะเพราหมูสันในเต้าหูงาดำและไข่ขาวเจียว

นอกจากนี้ เมนูอาหารโรคมะเร็งหากเป็นไปได้ควรมีหน้าตาน่าทาน เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของผู้ป่วย ให้สามารถทานอาหารได้มากและสามารถฟื้นตัวได้ไวขึ้น โดยสามารถสั่งอาหารเฉพาะจาก Modish Food Design ที่มีทีมนักโภชนาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านออกแบบและกำหนดอาหารโรคมะเร็งให้อย่างตรงจุด พร้อมรังสรรค์เมนูอาหารโดยทีมเชฟมืออาชีพรับประกันความอร่อย ความสด สะอาด และถูกหลักอนามัย 

สามารถเลือกเมนูอาหารเฉพาะบุคคลและสั่งมาทานที่บ้านได้ง่ายๆ ผ่านเพจ Modish Food Design หรือผ่านเว็บไซต์ https://www.modishfooddesign.co.th/meal-plan/

ได้แล้ววันนี้

ปรึกษาเพิ่มเติมที่ Line OA: @modishfooddesign
Tel. 090-919-7414