อาหารเฉพาะโรค สามารถช่วยให้คนมีโรค สุขภาพดีได้ ด้วยเทคนิคกิน อาหารเฉพาะโรค ให้เหมาะกับสุขภาพ 

อาหารเฉพาะโรค เป็นอาหารที่ถูกปรับดัดแปลงทั้งชนิดของวัตถุดิบ วิธีการประกอบอาหาร พลังงานและสารอาหาร รวมถึงปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ในอาหาร เพื่อให้เป็นอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและเหมาะกับผู้ป่วยในแต่ละโรค ซึ่งอาการป่วยของแต่ละโรคนั้นจะมีข้อจำกัดในการได้รับสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป เช่น โรคเบาหวานจำกัดการกินแป้งและน้ำตาล โรคไขมันในเลือดสูงจำกัดการได้รับไขมันและแป้ง โรคไตต้องควบคุมโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส

 

Therapeutic Diet หรือ อาหารเฉพาะโรค เป็นอาหารที่จัดสรรให้เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย โดยได้รับการดัดแปลงส่วนประกอบต่างๆ ให้มีความเหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับสุขภาพของผู้ป่วย เช่น เนื้อสัมผัส ปริมาณสารอาหาร หรือวัตถุดิบบางประเภท เป็นต้น รวมทั้งยังคำนึงถึงภาวะของร่างกาย ความเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรค เพื่อช่วยชะลอความรุนแรง รักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น หากผู้ป่วยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเลือกทานอาหารที่ดี เหมาะสม และมีประโยชน์แก่ร่างกาย ก็จะช่วยส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพที่ดีแก่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับโรคที่เป็นได้อย่างมีความสุข โดยโรคที่ยอดฮิตที่พบได้บ่อยและต้องควบคุมอาหาร สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อาทิ

 

อาหารเฉพาะโรค เบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 นั้นจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น อาหารที่ควรให้ความสำคัญ คือ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และแป้ง ซึ่งแนวทางการรับประทานอาหารที่แนะนำคือ การกำหนดปริมาณการทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยการชั่ง ตวง อาหารแต่ละชนิด เน้นให้ความสำคัญกับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือสามารถใช้วิธีการง่ายๆ คือ “การนับคาร์บ” 

 

อาหารเฉพาะ โรคเบาหวานควรได้รับคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ไม่เกิน 10 -12 คาร์บต่อวัน โดยใน 1 คาร์บจะมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 15 กรัม เท่ากับว่าอาหารเฉพาะโรคเบาหวานควรได้รับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 150-180 กรัมต่อวัน ซึ่งเทคนิคการนับคาร์บที่สามารถทำได้ง่ายมีอยู่ 3 ข้อ

  • จำให้ได้ว่าคาร์โบไฮเดรตอยู่ในอาหารประเภทใด ซึ่งส่วนใหญ่พบมากใน ข้าว แป้ง น้ำตาล พืชผักบางชนิดโดยเฉพาะพืชหัว เช่น ฟักทอง มันฝรั่ง เผือก มัน รวมถึงนม น้ำผึ้ง และผลไม้
  • อ่านฉลากโภชนาการข้างกล่อง ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่วางขายในท้องตลาดจะมีฉลากแสดงพลังงานต่อ 1 หน่วยบริโภคและปริมาณสารอาหารอื่นๆ เอาไว้ สิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญคือ ปริมาณพลังงาน ปริมาณคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และไขมัน โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เช่น น้ำอัดลม ขนมไทยบางชนิด เบเกอรี่หรืออาหารที่มีรสหวานมัน ซึ่งอาหารเหล่านี้แม้ไม่ต้องนับคาร์บก็พอจะเดาออกได้ว่ามีปริมาณน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรระมัดระวังอาหารเหล่านี้เป็นพิเศษ เนื่องจากหากทานมากเกินจำเป็น อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้นได้ รวมถึงควรเน้นทานผักและผลไม้ที่น้ำตาลไม่สูง โดยเน้นผักมากกว่าผลไม้ เพื่อให้ได้ใยอาหารช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาล โดยแนะนำให้ทานวันละ 4-6 ทัพพี

 

เมนูอาหารผู้ป่วยเบาหวานที่แนะนำ

  • สลัดแอปเปิ้ลข้าวบาร์เลย์ (344 kcal)

สลัดแอปเปิ้ลข้าวบาร์เลย์

  • ข้าวควินัว น้ำพริกกะปิกุ้ง ไข่ขาวชะอมทอดปลาทู (339 kcal)

ข้าวควินัว น้ำพริกกะปิกุ้ง ไข่ขาวชะอมทอดปลาทู

  • บะหมี่โอ๊ตไฟเบอร์กับอกไก่อบเต้าเจี้ยวเห็ดหอม (221 kcal) 

บะหมี่โอ๊ตไฟเบอร์กับอกไก่อบเต้าเจี้ยวเห็ดหอม

 

อาหารเฉพาะโรคไขมันในเลือดสูง 

โรคไขมันในเลือดสูง อาจเกิดได้จากการที่ระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 ชนิด อันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็น

รวมถึงพันธุกรรมหรือการใช้ยาบางชนิด ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ไขมันชนิดร้าย (LDL-C) อยู่ในระดับสูงเกินไปและเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งอาหารที่มีผลต่อการเพิ่มระดับไขมันคอเรสเตอรอล ได้แก่ อาหารไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว เช่น มาการีน เนยขาว ครีมทีม กระทิ น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม และการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ดังนั้น

 

อาหารเฉพาะโรค ไขมันในเลือดสูงจึงควรลดปริมาณอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและเลี่ยงไขมันทรานส์ เพื่อลดโอกาสในการเพิ่มไขมันชนิดร้าย (LDL-C) และเลือกทานไขมันดีเพื่อส่งเสริมการลด Cholesterol หรือ LDL และเพิ่ม HDL ให้กับร่างกาย เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เรพซีด น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา ถั่วอัลมอนด์และถั่วลิสงแทน

 

เมนูอาหารเฉพาะโรคไขมันในเลือดสูงที่แนะนำ

  • ข้าว (ไม่) มันไก่ (303 kcal) 

ข้าวไม่มันไก่

  • ยำถั่วพูแอปเปิ้ลเขียวอกไก่ย่าง (367 kcal)

ยำถั่วพูแอปเปิ้ลเขียวอกไก่ย่าง

  • บะหมี่ผักอกไก่ย่างซอสสุกี้ (353 kcal)

บะหมี่ผักอกไก่ย่างซอสสุกี้

 

อาหารเฉพาะโรคไต 

เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตนั้นมีประสิทธิภาพการทำงานของไตที่ลดน้อยลง ทำให้ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น การเลือกกินอาหารเฉพาะโรคไตโดยเฉพาะจะช่วยชะลอความเสื่อมของไต ช่วยควบคุมอาการและดูแลไม่ให้ไตทำงานหนักจนเกินไป โดยอาหารเฉพาะโรคไตนั้นจะให้ความสำคัญกับโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ 

 

เนื่องจากโปรตีนนั้นจะกลายเป็นของเสียในร่างกาย ซึ่งไตทำหน้าที่ขับของเสียออกมา โดยถ้าหากยังไม่ได้ฟอกไตจะต้องจำกัดปริมาณโปรตีน แต่ในกรณีที่ฟอกไตแล้วร่างกายจะต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นเพราะร่างกายได้สูญเสียโปรตีนออกไปขณะฟอกไต ดังนั้น จำเป็นต้องควบคุมปริมาณโปรตีนร่วมกับการเลือกทานโปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมูสันใน อกไก่ไม่มีหนัง ไข่ขาว รวมถึงควรจำกัดแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียมไม่เกิน 2,000-3,000 มก. ต่อวัน และจำกัดโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก.ต่อวัน โดยหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด อาหารแปรรูป และงดการเติมเครื่องปรุงเพิ่มในอาหาร

 

เมนูอาหารเฉพาะโรคไตที่แนะนำ

  • แกงเขียวหวานหมูสันในกะทิธัญพืช ปริมาณโปรตีน 18.4 g.
  • ผัดไทยวุ้นเส้นคริสตัลอกไก่ไข่ขาว  ปริมาณโปรตีน 19.1 g.
  • ปลากะพงต้มกระชายและข้าวผัดกระเทียม ปริมาณโปรตีน 19.4 g.

 

อาหารเฉพาะโรคเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการรักษาโรค เพื่อให้กระบวนการรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติติตนตามแนวทางการรักษา เช่น ทานยาตามกำหนด คุมอาหารให้เหมาะสม โดยสามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกำหนดอาหารวิชาชีพ หรือง่ายๆ เพียงสั่งอาหารเฉพาะโรคได้ที่ Modish Food Design มีทีมนักโภชนาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านออกแบบและกำหนดอาหารให้คุณโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องเสียเวลานับและชั่งตวงวัดอาหารเอง พร้อมรังสรรค์เมนูอาหารโดยทีมเชฟมืออาชีพรับประกันความอร่อย ความสด สะอาด และถูกหลักอนามัย สามารถสั่งมาทานที่บ้านได้ง่ายๆ ผ่านเพจ Modish Food Design

หรือผ่านเว็บไซต์ https://www.modishfooddesign.co.th/meal-plan/

ได้แล้ววันนี้

ปรึกษาเพิ่มเติมที่ Line OA: @modishfooddesign
Tel. 090-919-7414