ไขมันเป็นหนึ่งในสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ทุกเซลล์ นอกจากนี้แล้ววิตามินเอ ดี อี เค ก็ยังต้องใช้ไขมันในการดูดซึม ซึ่งความต้องการไขมันของคนทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 25-35% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดในหนึ่งวัน เมื่อร่างกายได้รับไขมันเข้าไปแล้วจะย่อยให้กลายเป็นกลีเซอรอลและกรดไขมัน ซึ่งกรดไขมันนี้เองที่มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย โดยกรดไขมันสามารถแบ่งออกได้เป็น กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) พบมากใน ไขมันจากสัตว์ ครีมเทียม กะทิ เนย น้ำมันมะพร้าว รวมถึงน้ำมันปาล์ม และกรดไขมันอีกประเภทหนึ่งก็คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งพบได้ในน้ำมันจากพืชทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (monounsaturated fatty acid) พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดองุ่น และน้ำมันถั่วลิสง และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated fatty acid) พบมากในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันงา

Morbi vitae purus dictum, ultrices tellus in, gravida lectus.

น้ำมันเป็นส่วนสำคัญในการประกอบอาหาร มีการนำน้ำมันไปใช้ในการทอด ผัด หรือแม้แต่ใส่เป็นส่วนผสมในน้ำสลัด แน่นอนว่าทุกครัวเรือนต้องมีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารเป็นอย่างแน่นอน บางครัวเรือนใช้อย่างเป็นประจำแทบทุกมื้อ หรือบางครัวเรือนอาจใช้เพียงแค่บางมื้อ คงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ในครัวเรือนควรพกน้ำมันประกอบอาหาร 2 ขวด เพื่อใช้ให้ถูกประเภทในการประกอบอาหาร โดยขวดแรกใช้ในการทอดและขวดที่สองใช้ในผัด เนื่องจากเรามักได้รับคำแนะนำที่ว่า

“ให้ใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันจากสัตว์ในการทอดอาหาร ในขณะที่การผัดนั้นควรใช้น้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันถั่วเหลือง”

หรือ

“น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงเหมาะกับการทอด และน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงเหมาะกับการผัด”

ซึ่งก็ถือเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องในเชิงการเลือกใช้ให้ถูกต้อง แต่ในเชิงสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยนั้นอาจไม่ได้ถูกต้อง 100% เพราะบางคนเข้าใจว่าตนเองใช้น้ำมันถูกประเภทจนลืมนึกถึงเรื่องสุขภาพ ทำให้ใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันสัตว์ ทอดอาหารอย่างเป็นประจำ เราทราบกันดีว่า ถึงแม้น้ำมันเหล่านี้จะเหมาะกับการทอด แต่ก็มีกรดไขมันอิ่มตัวในสัดส่วนที่สูงมากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ และถ้าได้รับในปริมาณที่มากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงสูง แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ได้ยินคำกล่าวที่ว่า

“น้ำมันพืชดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว ด้วยเหตุที่ว่า มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงและมีสารประกอบพฤษเคมีอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย”

แล้วทำไมเราถึงไม่เลือกใช้แค่น้ำมันพืชที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในการประกอบอาหาร ???จริงอยู่ที่ว่าน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงเหมาะกับการทอด เนื่องจากมีจุดเกิดควันสูง ทำให้ทนความร้อนสูงได้เป็นระยะเวลานานและเกิดความเหม็นหืนได้ช้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กัน รวมถึงในเรื่องของการประหยัดต้นทุน เพราะน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงอย่างเช่น น้ำมันปาล์มมีราคาที่ถูกกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ อันที่จริงแล้วน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงบางชนิด ก็มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาทอดอาหารได้ เนื่องจากมีจุดเกิดควันสูง หากเราใช้และเก็บอย่างถูกวิธีก็สามารถนำมาทอดอาหารและชะลอการเกิดความเหม็นหืนของน้ำมันได้

“ในครัวเรือนเราไม่ได้ทอดอาหารในปริมาณมากหรือทอดนานเหมือนกับทางอุตสาหกรรม ดังนั้นก็ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องใช้น้ำมันปาล์มมาทอดอาหารในครัวเรือน”

ถ้ารู้แบบนี้แล้ว ทำไมเราถึงไม่เลือกน้ำมันชนิดที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีจุดเกิดควันสูงในการประกอบอาหาร ตัดปัญหาการพกน้ำมัน 2 ขวดไว้ในครัวเรือน แถมลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่จะตามมาจากการใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงอย่างเป็นประจำ

แล้วน้ำมันพืชชนิดไหนดีที่เราควรพกไว้ในครัวเรือน ที่ราคาไม่แพงมาก และสามารถนำมาผัดหรือทอดได้ ??? คำตอบก็คือ น้ำมันรำข้าว นั่นเอง น้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ได้โดยไม่ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ด้วย และอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบพฤษเคมี และที่สำคัญมีจุดเกิดควัน (smoking point) สูงถึง 254 องศาเซลเซียส (ในขณะที่น้ำมันปาล์มโอเลอินที่เราใช้ทอดกันเป็นประจำ มีจุดเกิดควันอยู่ที่ 230 องศาเซลเซียส) ดังนั้นน้ำมันรำข้าวจึงทนความร้อนสูงได้ในระยะเวลานาน ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพกน้ำมันเพียงแค่ขวดเดียวไว้ใช้ในการทอดและผัด เรียกง่าย ๆ ว่าเป็น “น้ำมันอเนกประสงค์” ก็ว่าได้

นอกจากทางเลือกอย่างน้ำมันรำข้าวแล้ว น้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ก็สามารถนำมาทอดหรือผัดได้ ทว่าราคาอาจสูงกว่าน้ำมันรำข้าว ได้แก่ น้ำมันอะโวกาโด (จุดเกิดควัน 266 องศาเซลเซียส) น้ำมันอัลมอนด์ (จุดเกิดควัน 257 องศาเซลเซียส) น้ำมันเมล็ดชา (จุดเกิดควัน 252 องศาเซลเซียส) น้ำมันเมล็ดทานตะวัน (จุดเกิดควัน 238 องศาเซลเซียส) จะเห็นว่า ไม่ใช่พียงแค่น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันจากสัตว์ที่เหมาะสมกับการทอดเท่านั้น น้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ก็สามารถนำมาทอดได้เช่นกัน แถมผัดได้ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าด้วย สุดท้ายนี้อยากฝากทุกคนว่า “เลือกน้ำมันให้ถูกชนิดไม่พอ…ต้องเลือกให้ถูกต่อสุขภาพด้วย”

น้ำมันปาล์ม (Yellow palm olein) เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เพราะเป็นน้ำมันเอนกประสงค์ที่ใช้กันโดยทั่วไปและมีราคาที่ถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เหมาะกับการนำมาทอดด้วยไฟสูง เป็นระยะเวลานาน ๆ จึงมีการนำมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก

ทุกครัวเรือนต้องมีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารเป็นอย่างแน่นอน บางครัวเรือนใช้อย่างเป็นประจำแทบทุกมื้อ หรือบางครัวเรือนอาจใช้เพียงแค่บางมื้อ คงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ในครัวเรือนควรพกน้ำมันประกอบอาหาร 2 ขวด เพื่อใช้ให้ถูกประเภทในการประกอบอาหาร ซึ่งก็ถือเป็นคำแนะนำที่ดีในเชิงการเลือกใช้ให้ถูกต้อง แต่ในเชิงสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยนั้นอาจไม่ได้ถูกต้อง 100%

โรงงานอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จะเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์ม เนื่องจากมีเหม็นหืนช้า ทนความร้อนสูง ราคาถูก ทำให้ประหยัดต้นทุน แต่อันที่จริงแล้วน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงบางชนิด ก็มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาทอดอาหารได้ เนื่องจากมีจุดเกิดควันสูง หากเราใช้และเก็บอย่างถูกวิธีก็สามารถนำมาทอดอาหารและชะลอการเกิดความเหม็นหืนของน้ำมันได้ ดังนั้น

“ในครัวเรือนเราไม่ได้ทอดอาหารในปริมาณมากหรือทอดนานเหมือนกับทางอุตสาหกรรม ดังนั้นก็ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องใช้น้ำมันปาล์มมาทอดอาหารในครัวเรือน”

น้ำมันปาล์มและน้ำมันจากสัตว์ เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในสัดส่วนที่สูงมากกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ และถ้าได้รับในปริมาณที่มากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงสูง ดังคำแนะนำที่ว่า

“น้ำมันพืชดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันปาล์มและน้ำมันจากสัตว์ ด้วยเหตุที่ว่า มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงและมีสารประกอบพฤษเคมีอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย”

น้ำมันทุกชนิดประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวมากน้อยต่างกัน ถ้าเลือกใช้ในครัวเรือน ควรเลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวไม่มากแต่มีจุดเกิดควันสูง เพื่อให้ใช้ได้ทั้งทอดและผัด

แล้วน้ำมันพืชชนิดไหนดีที่เราควรพกไว้ในครัวเรือน สามารถนำมาผัดหรือทอดได้ ??? คำตอบก็คือ น้ำมันรำข้าว นั่นเอง น้ำมันรำข้าวเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ได้โดยไม่ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ด้วย และอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบพฤษเคมี และที่สำคัญมีจุดเกิดควัน (smoking point) สูงถึง 254 องศาเซลเซียส (ในขณะที่น้ำมันปาล์มโอเลอินที่เราใช้ทอดกันเป็นประจำ มีจุดเกิดควันอยู่ที่ 230 องศาเซลเซียส) ดังนั้นน้ำมันรำข้าวจึงทนความร้อนสูงได้ในระยะเวลานาน ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพกน้ำมันเพียงแค่ขวดเดียวไว้ใช้ในการทอดและผัด เรียกง่าย ๆ ว่าเป็น “น้ำมันอเนกประสงค์” ก็ว่าได้