อาหารผู้ป่วยโรคไต เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือระยะสุดท้ายได้ ตั้งแต่ระยะ 3 ถึงระยะที่ 5 โดยการรับประทานอาหารที่ออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยยาและการฟอกเลือดด้วยไตเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและลดอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ที่ตามมาด้วย

โดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและโซเดียมออกมาผ่านทางปัสสาวะ หากไม่ควบคุมอาหารให้เหมาะสำหรับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตจะทำให้ไตทำงานหนักและกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้อาการป่วยทวีความรุนแรงขึ้นและมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้

ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องคุมอาหาร?

เนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาไตเสื่อม จะมีประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ทำให้ไตขับและกรองของเสียได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ของเสียเกิดการคั่งภายในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจช็อค หมดสติ เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนได้  ดังนั้น ผู้ป่วยไตเสื่อมควรเลือกทานอาหารที่เหมาะสมกับไต และมีประโยชน์แก่ร่างกาย โดยสารอาหารที่ต้องควบคุมการรับประทานเป็นพิเศษ คือสารอาหารประเภทโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ เพื่อช่วยให้ไตทำงานไม่หนักเกินไปในการขับและกรองของเสียดังกล่าว

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

อาหารผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมในปริมาณมาก โดยจำกัดเกลือในปริมาณที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ช้อนชาต่อวัน รวมถึงอาหารประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ที่ผู้ป่วยไตควรเลี่ยง

  1. อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง มักพบในอาหารที่ปรุงรสเค็มจัด หรืออาหารสำเร็จรูป รวมถึงเครื่องปรุงต่างๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ
  2. อาหารหมักดอง ที่ส่วนใหญ่มีรสเค็มและผ่านการแปรรูปด้วยการหมักดอง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า แหนม กิมจิ เป็นต้น
  3. เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งด้วยการใส่สารเสริมต่างๆ และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แหนม หมูยอ แฮม เบคอน เป็นต้น
  4. อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูงหรือมีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง กะทิ น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เป็นต้น
  5. อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม ส่วนใหญ่มักพบในของหวานและขนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบเกอรี่ ขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิหรือครีมเทียม เช่น เค้ก ขนมปัง มัฟฟิน ครัวซองต์ พิซซ่า พาย ขนมไทยบางชนิดที่มีส่วนประกอบของกะทิ เป็นต้น
  6. เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง เช่น หมูสามชั้น คอหมูย่าง หนังไก่ทอด เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่ เป็นต้น
  7. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม นมถั่วเหลือง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลากรอบ ขนมปัง  ถั่วและธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  8. อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน มะเขือเทศ ผลไม้แห้ง กล้วย ลูกพรุน น้ำมะพร้าว ผักใบเขียวหรือผักที่มีสีเข้ม หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรนำไปลวกน้ำร้อนก่อนรับประทานเพื่อช่วยชะล้างโพแทสเซียมในผัก

อาหารผู้ป่วยโรคไตที่สามารถรับประทานได้

ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และให้พลังงานที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานเหล่านี้ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาหารผู้ป่วยโรคไตนั้น ควรมีปริมาณและสารอาหารที่พอเหมาะ ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • โปรตีนคุณภาพ จากเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง เนื้อปลาที่มีโอเมก้า 3 และมีไขมันต่ำ ไข่ขาว อกไก่ หมูสันใน โดยจำกัดการทานโปรตีนในแต่ละวันตามระยะของผู้ป่วยไต ดังนี้
  • โรคไตระยะ 1-3A  สามารถทานโปรตีนได้ปกติในสัดส่วน  0.8 – 1.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
  • โรคไตระยะที่ 3B-5 และยังไม่ได้ฟอกไต ควรควบคุมปริมาณโปรตีนไม่เกินวันละ 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
  • โรคไตที่มีการฟอกไตแล้ว แนะนำให้ทานโปรตีนในปริมาณ 1.2-1.3 กรัม/น้ำหนักตัว 1 (กก.) /วัน
  • คาร์โบไฮเดรตที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เช่น ข้าวขาว ขนมปังที่ทำจากแป้งขัดสี วุ้นเส้น เส้นหมี่ขาว เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เป็นต้น โดยเลือกทานในปริมาณที่พอเหมาะในทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสม
  • น้ำมันประกอบอาหาร ควรเลือกใช้เป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันจากสัตว์หรือน้ำมันหมู
  • ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ โดยเลือกจากผักหรือผลไม้ที่มีสีอ่อน เช่น เงาะสับปะรด สาลี่ แอปเปิล ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เป็นต้น
  • ไขมันไม่อิ่มตัว พบในน้ำมันพืชต่างๆ อาทิ น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
  • กรณีที่ผู้ป่วยโรคไตมีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่เกินวันละ 700 – 1,000 cc.

ข้อแนะนำดี ๆ สำหรับการเลือกรับประทานอาหารผู้ป่วยโรคไต

  1. รับประทานอาหารให้ได้พลังงานที่เพียงพอต่อร่างกาย
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และหวานมันเค็ม
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูป
  5. เลือกเนื้อสัตว์ที่เป็นโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว อกไก่ หมูสันใน ปลา โดยทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อการทำงานของไต (โดยขอคำปรึกษาจากแพทย์และนักกำหนดอาหาร)
  6. รับประทานผักสุกที่มีโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง อย่างน้อย 1 ทัพพี/มื้อ และเสริมด้วยผลไม้ 6-8 ชิ้นคำ/วัน

 

แจกเมนูแนะนำสำหรับอาหารผู้ป่วยโรคไต

 

  • แกงส้มชะอมไข่ขาวและข้าวผัดกระเทียม
  • ปลากระพงต้มกระชายและข้าวผัดกระเทียม
  • แกงเลียงปลากระพงและข้าวผัดกระเทียม
  • อกไก่ผัดขิงและข้าวผัดกระเทียม
  • ผัดรวมมิตรอกไก่ไข่ขาวและข้าวผัดกีะเทียม
  • ข้าวผัดต้มยำปลากะพงย่า

นอกจากนี้ อาหารผู้ป่วยโรคไตยังมีเมนูอื่นๆ อีกมากมายในรูปแบบอาหารแช่แข็ง ที่สามารถเก็บไว้ทานได้นาน[11]  ปลอดภัย และมีสารอาหารถูกต้อง ครบถ้วน คิดค้นและปรุงประกอบเมนูมาเพื่อผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะ ได้รับการออกแบบและคำนวณสารอาหารโดยทีมแพทย์ นักกำหนดอาหารและเชฟมืออาชีพ ผู้ที่ไม่สะดวกปรุงประกอบอาหารผู้ป่วยโรคไตเองสามารถสั่งอาหาร Delivery กับ ‘สำรับไต อาหารที่ออกแบบเพื่อผู้ป่วยโรคไต’ โดยสามารถเข้าไปดูเมนูอาหารและรายละเอียดได้ที่

เพจ Facebook : สำรับไต อาหารที่ออกแบบเพื่อผู้ป่วยโรคไต

Line : @modishshop (มี@ด้านหน้า) หรือคลิก https://lin.ee/xOvcpRM

โทร : 085-804-6542

Website : https://www.modishfooddesign.co.th/meal-plan/