สำหรับผู้ป่วยโรคไต อาหารผู้ป่วยโรคไต เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรพลาด วันนี้เราจะพามารู้จัก อาหารผู้ป่วยโรคไต รับประทานอาหารอย่างไรให้ชีวิตดี

อาหารผู้ป่วยโรคไตนั้นจำเป็นต้องกำหนดปริมาณโปรตีนให้เหมาะกับระยะของไต และต้องจำกัดแร่ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส เพื่อเป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการมีเกลือแร่ผิดปกติและชะลอความเสื่อมของไตในขณะยังไม่ต้องได้รับการฟอกไต 

 

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) เป็นโรคที่เกิดภาวะไตทำงานได้ลดลงหรือไตมีภาวะผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะหรือมีความผิดปกติทางรังสีวิทยาเป็นเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะดูได้จากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติ (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) เพราะในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการแสดง ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังจนกว่าจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการเซื่องซึม คลื่นไส้อาเจียน ขาบวมกดแล้วมีรอยบุ๋ม หรือปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน เป็นต้น 

 

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

เนื่องจากโรคไต มีสาเหตุมาจาก

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไตอักเสบ เช่น IgA nephropathy, Lupus nephritis หรือ FSGS 
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำที่ไต 
  • โรคไตขาดเลือดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ มักพบในผู้ปวยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ที่มีการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะหรือมีการติดเชื้อช้ำหลายครั้ง
  • การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน เช่น ยา diclofenac

 

จากสาเหตุเหล่านี้ จึงทำให้ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียที่เกิดจากโปรตีนและโซเดียมออกมาทางปัสสาวะ เมื่อไตมีสภาพเสื่อมลงจึงทำให้การขับของเสียออกจากร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการทานอาหารรสจัดหรือรสเค็มที่มีปริมาณโซเดียมสูง จึงทำให้ไตทำงานหนักมากกว่าปกติและเกิดอาการตัวบวมได้ จนนำไปสู่อาการแสดงที่ร้ายแรงขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง คันตามร่างกาย ร่างกายอ่อนเพลีย มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะและน้ำคั่งในปอด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรค

 

โรคไตเรื้อรังมีกี่ระยะ?

โรคไต จะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่

 

ระยะของโรคไต ค่า eGFR
(ml./mim/1.73 ตารางเมตร)
อาการที่พบ
ระยะที่ 1 >=90  มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่อัตราการกรองของไตยังปกติ
ระยะที่ 2 89-60 มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย
ระยะที่ 3a 59-45 อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง
ระยะที่ 3b 44-30 อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก
ระยะที่ 4 29-15 อัตราการกรองลดลงมาก
ระยะที่ 5 <15 ไตวายระยะสุดท้าย

 

จะเห็นได้ว่า โรคไตเรื้อรังในระยะที่สูงขึ้นจะมีค่าความเสื่อมของไตที่สูงมากตามไปด้วย ดังนั้นอาหารผู้ป่วยโรคไตในระยะที่เพิ่มขึ้นจะมีการจำกัดสารอาหารที่เข้มงวดมากกว่าเดิม โดยแบ่งออกตามหมวดหมู่ของสารอาหารได้ดังนี้

 

  • โปรตีน

โปรตีนสำหรับอาหารผู้ป่วยโรคไต ควรจำกัดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อชะลอความเสื่อมของไตโดยที่ไม่ขาดสารอาหาร

  • โรคไตระยะที่ 3b- ระยะที่ 5 ต้องจำกัดโปรตีนที่ 0.6-0.8 g./kg./วัน 
  • โรคไตระยะที่ 5 ที่ได้รับการฟอกไต จำเป็นต้องรับประทานปริมาณเพิ่มขึ้น คือ 1.2-1.3 g./kg./วัน

โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ปลา อกไก่ หมูสันใน ไข่ขาว และควรเลี่ยง เนื้อแดง เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป 

 

  • โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส

อาหารผู้ป่วยโรคไตตั้งแต่ระยะแรกจะจำกัดปริมาณโพแทสเซียมที่ประมาณ 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากโพแทสเซียมจะมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ เมื่อไตเสื่อมจะทำให้การขับโพแทสเซียมลดน้อยลงและทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้ ถ้าหากเป็นผู้ป่วยระยะ 4 – 5  ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น  ฝรั่ง แก้วมังกร ผลไม้กระป๋อง ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลีม่วง แครอท ถั่วฝักยาว รวมถึงผักใบเขียวทุกชนิด นอกจากนี้ อาหารผู้ป่วยโรคไตยังต้องจำกัดฟอสฟอรัสให้ต่ำกว่า 800 มิลลิกรัม/วัน เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3b ซึ่งมีค่าฟอสฟอรัสในเลือดสูง จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น อาหารประเภทนมและผลิตภัณฑ์จากนม เมล็ดธัญพืชต่างๆ เพราะการที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงและเกิดผลึกหินปูนได้

 

  • โซเดียม 

โซเดียมเป็นอีกข้อจำกัดหลักของอาหารผู้ป่วยโรคไตทุกระยะ โดยกำหนดให้ทานได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากโซเดียมพบได้ตามอาหารธรรมชาติ ทั้งประเภทเนื้อสัตว์และผักผลไม้ต่างๆ จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณเครื่องปรุงในอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ หรือเลือกใช้เครื่องปรุง Low Soduim ที่ไม่ได้มีการใช้โพแทสซียมทดแทน ซึ่งอาจจะต้องสังเกตให้ดี เพราะเครื่องปรุง Low Sodium บางประเภทมักใช้ Potassium Cholride เข้ามาทดแทนซึ่งจะยิ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต 

 

อาหารผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง

โภชนบำบัดของผู้ป่วยโรคไตนั้นถือว่าค่อนข้างละเอียดและมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวอื่นๆ เพิ่มเติมก็จะยิ่งมีข้อจำกัดของโรคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่โดยหลักๆ แล้วจะเน้นอาหารที่มีโปรตีน โซเดียม โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสต่ำ แต่ให้พลังงานในระดับปานกลางหรือประมาณ 400-500 (kcal) ต่อมื้อ เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล โดยเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตที่สามารถทานได้ อาทิ

  • ผัดบวบอกไก่ไข่ขาวและข้าวผัดกระเทียม มีปริมาณโปรตีน 19.7 g. โซเดียม 405.4 mg. โพแทสเซียม 382.4 mg. ฟอสฟอรัส 107.4mg. และพลังงาน 504.7 (kcal)
  • ข้าวผัดต้มยำปลากะพงย่าง มีปริมาณโปรตีน 17.1 g. โซเดียม 604.1 mg. โพแทสเซียม 435.9 mg. ฟอสฟอรัส 161.4 mg. และพลังงาน 456.1 (kcal)
  • อกไก่ผัดขิงและข้าวผัดกระเทียม มีปริมาณโปรตีน 17.9 g. โซเดียม 358.2 mg. โพแทสเซียม 233.9 mg. ฟอสฟอรัส 48.9 mg. และพลังงาน 476.2 (kcal)

 

นอกจากนี้ อาหารผู้ป่วยโรคไตยังมีเมนูอื่นๆ อีกมากมายในรูปแบบอาหารแช่แข็ง ที่สามารถเก็บไว้ทานได้นานและมีสารอาหารถูกต้อง ครบถ้วน คิดค้นและปรุงประกอบโดยทีมแพทย์ นักกำหนดอาหารและเชฟมืออาชีพ ที่รังสรรค์เมนูมาเพื่อผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะ สามารถเข้าไปดูเมนูอาหารและรายละเอียดได้ที่ https://www.modishfooddesign.co.th/meal-plan/ และเพจ Facebook : สำรับไต อาหารที่ออกแบบเพื่อผู้ป่วยโรคไต หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 085-8046542