สงสัยมั้ยว่า….เวลานักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร สอบถามประวัติการทานของผู้ป่วย ทำไมต้องซักถึงปริมาณการทานละเอียดจัง? แล้วเขารู้ได้อย่างไรว่าเรากินเยอะหรือน้อยเกินไป?

Morbi vitae purus dictum, ultrices tellus in, gravida lectus.

เวลานักโภชนาการจะคำนวณหาพลังงานและสารอาหารที่เราควรได้รับในแต่ละวันนั้น มักจะใช้สูตรคำนวณเฉพาะเจาะจงตามสภาวะโรคของแต่ละคนค่ะ อีกทั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อระบบเมทาบอลิซึมในร่างกายด้วยค่ะ เช่น การอักเสบ/บาดเจ็บ, ยา, ผลข้างเคียงของโรค, lifestyle ของบุคคล เป็นต้น เพื่อจะได้คำนวณพลังงานและสารอาหารให้ตรงต่อความต้องการของร่างกายมากที่สุด

ในบทความนี้จะพูดถึงการคิดสัดส่วนอาหารในหมวดโปรตีนค่ะ เพราะเป็นอาหารหมวดสำคัญสำหรับบุคคลทั่วไป เช่น คนที่ต้องการลดน้ำหนัก,เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น โรคไต โรคมะเร็ง ฯลฯ

“โปรตีน” มีความสำคัญต่อร่างกายมาก อย่างในคนที่ต้องการลดน้ำหนัก/เสริมสร้างกล้ามเนื้อ หากทานโปรตีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายขาดความฟิต กระชับ เนื่องจากกล้ามเนื้อหย่อนคล้อยจากการที่ร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอค่ะ จึงสร้างกล้ามเนื้อได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทานแหล่งโปรตีนต่างๆให้มากขึ้น โดยเน้นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไม่ผ่านการแปรรูป หรืออาจเสริมด้วย whey ในช่วงหลังออกกำลังกายเสร็จก็ได้ เพราะร่างกายสามารถดึงโปรตีนจาก whey มาใช้ได้ทันที เพื่อใช้ซ่อมแซมและรักษาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายค่ะ หรือหากใครไม่สะดวกทาน whey เสริม ก็สามารถทานเนื้อสัตว์หรือแหล่งโปรตีนอื่นๆแทนได้เหมือนกันนะคะ

สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น โรคไตที่ยังไม่ได้ฟอกไต แพทย์อาจสั่งให้จำกัดโปรตีน เนื่องจากโปรตีนอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้น โดยจำเป็นต้องเลือกทานโปรตีนที่มีคุณภาพดี เช่นโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือไข่ขาว ซึ่งไข่ขาวถือโปรตีนที่เหมาะกับโรคไต เพราะมีแร่ธาตุฟอสฟอรัสต่ำค่ะ

แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมที่ฟอกไตแล้ว จะต้องทานโปรตีนให้มากกว่าเดิม เนื่องจากมีการสูญเสียโปรตีนและสารอาหารบางตัวในขั้นตอนการฟอกไต จึงต้องทานเพิ่มเข้าไปเพื่อทดแทนให้ร่างกายไม่ขาดโปรตีนและสารอาหาร หากใครอยากรู้ว่าผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะที่ยังไม่ฟอก/ฟอกไตแล้ว วันหนึ่งจะทานโปรตีนได้เท่าไหร่? ก็สามารถศึกษาแบบละเอียดได้จากบทความก่อนหน้านี้ค่ะ (ในบทความของโมดิช เรื่อง: กินโปรตีนเท่าไหร่..เมื่อไตมีปัญหา?)

ส่วนสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โปรตีนถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการรักษา เนื่องจากหากผู้ป่วยทานโปรตีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายซูบผอม ไม่แข็งแรง ส่งผลให้คุณหมอพิจารณาให้เลื่อนการรักษาออกไปจนกว่าร่างกายผู้ป่วยจะพร้อมค่ะ ดังนั้น ผู้ป่วยต้องดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งอาหารการกินด้วย คือทานอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และมีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ที่เหมาะสมค่ะ ทั้งหมดนี้จะทำให้การรักษาเป็นไปโดยง่ายและรวดเร็ว

วิธีคำนวณหาความต้องการโปรตีนของแต่ละบุคคลแบบคร่าวๆ (ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมด้วย)

  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก / เสริมสร้างกล้ามเนื้อ : 1.2 – 1.5 g/kg/day
  • ผู้ป่วยไตเสื่อมที่ยังไม่ได้ฟอกไต : 0.4 – 0.8 g/kg(IBW)/day
  • ผู้ป่วยไตเสื่อมที่ฟอกไตแล้ว : 1.1 – 1.4 g/kg(IBW)/day
  • ผู้ป่วยมะเร็ง : 1 – 1.5 g/kg/day

*g/kg/day = จำนวนโปรตีน(กรัม)ที่ควรทานในแต่ละวัน ต่อน้ำหนักตัวปัจจุบัน(กิโลกรัม)

**Kg(IBW) = น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น(กิโลกรัม) โดยหาได้จาก *เพศชาย: ส่วนสูง(cm)-100 *เพศหญิง: ส่วนสูง(cm)–110

เมื่อคำนวณได้จำนวนกรัมโปรตีนที่ควรทานต่อวันมาแล้ว เพื่อให้ได้โปรตีนตามที่เราคำนวณ..มันคิดตีเป็นเนื้อสัตว์ปริมาณเท่าไหร่กันล่ะ?