ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเพื่อชะลอการเสื่อมของไตและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการหรือการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งวันนี้เราก็จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับสาเหตุของการเกิดโรคไตและคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยโรคไต ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง เกิดจากอะไร

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากภาวะไตเสื่อมหรือทำงานได้ลดลง ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสาเหตุหลักที่มักพบ คือ เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง และเกิดเป็นภาวะไตเสื่อม โดยแบ่งได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งประเมินตามค่า eGFR หรือ อัตราการกรองของไต

 

ระยะของโรคไต แบ่ง 5 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม หรือพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองยังปกติ > 90 %

ระยะที่ 2 ไตเสื่อม อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย 60-90 %

ระยะที่ 3a อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง 45-60 %

ระยะที่ 3b อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก 30-45 %

ระยะที่ 4 อัตราการกรองลดลงมาก 15-30 %

ระยะที่ 5 ไตระยะสุดท้าย อัตราการกรอง <15 %

 

อาการของโรคไตเรื้อรัง

อาการของโรคไตนั้นขึ้นอยู่กับระยะและสาเหตุของโรคไต

โดยในระยะแรกนั้นมักไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบได้จากค่าผลเลือด การตรวจปัสสาวะ ค่าความดันโลหิตสูง รวมถึงอาการแสดงต่างๆ  และ เมื่อการทำงานของไตลดลงเรื่อย ๆ ของเสียต่าง ๆ ในร่างกายจะมีการสะสมมากขึ้นทำให้เกิดอาการต่างๆได้ ดังนี้

  • อ่อนแรง
  • เหนื่อยง่าย
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะบ่อยมากในตอนกลางคืน
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • เท้าบวม
  • มีอาการผิวแห้งและคัน
  • มักจะเป็นตะคริวตอนกลางคืน

ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ หากพบว่าเป็นโรคไตจะได้รักษาได้ทันนั่นเอง

โรคไตเรื้อรัง

 

คำแนะนำการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตเสื่อม คือ การเกิดภาวะทุพโภชนาการ  ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยจะส่งผลกระทบต่อการทํางานของไต  ส่งผลต่อการรักษา  ดังนั้น การดูแลทางโภชนาการอย่างถูกต้อง ควรเริ่มโดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยทําให้ผลการรักษาดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายในการรักษา

  1. พลังงาน ควรได้รับเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ปริมาณพลังงานโดยพิจารณาแยกตามกลุ่มอายุ ดังนี้

  • อายุน้อยกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงานประมาณ 35 กิโลแคลอรี/กก.น้ำหนักอุดมคติ/วัน
  • อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับพลังงานประมาณ 30 ถึง 35 กิโลแคลอรี/กก.น้ำหนักอุดมคติ/วัน

ในกรณีได้รับการล้าง/ฟอกไตทางหน้าท้องต้องรวมพลังงานที่ได้รับจากน้ำยาล้างไตทางช่องท้องด้วย

 

**น้ำหนักตัวในอุดมคติ (ideal body weight) สามารถคํานวณได้จากสมการ ดังนี้

เพศชาย = ความสูง (ซม.) – 100

เพศหญิง = ความสูง (ซม.) – 105

 

2. โปรตีน

  • กรณีได้รับการล้าง/ฟอกไต

โปรตีนที่ควรได้รับ 1 วัน = น้ำหนักตัวในอุดมคติ x 1.2 กรัม/น้ำหนักอุดมคติ/วัน

  • กรณีไม่ได้รับการล้าง/ฟอกไต

โปรตีนที่ควรได้รับ 1 วัน ในไตระยะ 3b ขึ้นไป = น้ำหนักตัวในอุดมคติ x 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักอุดมคติ/วัน

3. แร่ธาตุต่างๆ

  • โซเดียม

ควรจำกัดเนื่องจากหากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เกิดภาวะบวมน้ำ และน้ำท่วมปอดได้ ควรจํากัด โซเดียมไม่เกิน 2,000 มก./วัน

โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการปรุงรส จากการใช้เครื่องปรุงในปริมาณมาก โดยปริมาณโซเดียมอาจแตกต่างกันในผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อ ดังนั้น ก่อนปรุงควรอ่านฉลากโภชนาการเพื่อทราบถึงปริมาณโซเดียม ที่จะได้รับจากเครื่องปรุง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับโซเดียมที่มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆ เค้ก เบเกอรี่ เนื่องจากมีส่วนประกอบที่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ผงฟู

(โซเดียมไบคาร์บอเนต) สารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) และ สารที่ทำให้เนื้อสัตว์แปรรูปมีสีแดงอมชมพู เนื้อนุ่ม  (โซเดียมไนไตรต์) เป็นต้น

 

  • โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส

โพแทสเซียม  เมื่อไตทำงานลดลงจะลดการขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะ หากเกิดภาวะโพแทสเซียมสูงทำให้เกลือโพแทสเซียมคั่ง และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ในผู้ป่วยที่มีค่าโพแทสเซียม ควรจำกัดโพแทสเซียม ไม่เกิน 2,000 มก./วัน

โดยโพแทสเซียม มักพบในผักและผลไม้

เทียบปริมาณต่อ 1 ส่วน

> ผลไม้ 6-7 ชิ้นคำ

> ผักสุก 1 ทัพพี/ ผักสด 2 ทัพพี

กลุ่มโพแทสเซียมต่ำ (ประมาณ 70 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

เช่น แอปเปิ้ลเขียว สับปะรด ผักกาดขาว เห็ดหูหนู เป็นต้น

กลุ่มโพแทสเซียมปานกลาง (ประมาณ 150 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

เช่น ชมพู ลองกอง ส้มโอ กะหล่ำปลี คะน้า เป็นต้น

กลุ่มโพแทสเซียมสูง (ประมาณ 270 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

เช่น กล้วย แก้วมังกร มะเขือเทศ ฟักทอง เป็นต้น

เพิ่มเติม การนำผักไปลวก หรือ ต้ม ก่อนนำมารับประทาน สามารถลดปริมาณโพแทสเซียมได้
แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร

 

  • ฟอสฟอรัส

เมื่อไตเสื่อมจะมีปัญหาการดูดซึมแคลเซียมและขับฟอสฟอรัส เมื่อเกิดภาวะฟอสฟอรัสสูง ทำให้กระดูกบาง และเกิดภาวะเส้นเลือดแดงแข็งตัวได้ นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีค่าฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรปฏิบัติ ดังนี้ ควรจำกัด ฟอสฟอรัส ไม่เกิน  800 มก./วัน

โดยฟอสฟอรัส มักพบใน ไข่แดง และ ผลิตภัณฑ์จากไข่แดง โดยไข่แดง 1 ฟอง มีปริมาณฟอสฟอรัส ประมาณ 80 มก.

นม และ ผลิตภัณฑ์จากนม โดยนมจืด 1 แก้ว (240 มล.) มีปริมาณฟอสฟอรัส ประมาณ 200 มก.

เมล็ดธัญพืช ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เครื่องในสัตว์ และอาหารแปรรูป เป็นต้น

 

 

4. ไขมัน

  • ควรรับประทานไขมันจากพืชเป็นหลักเนื่องจากเป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • ควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ (trans fat) / ไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ เนย น้ำมันปาล์ม กะทิ และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  1. การจำกัดน้ำ โดยทั่วไปจะแนะนำให้ปริโภคน้ำเท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน หรือขึ้นอยู่กับระยะไตและภาวะของแต่ละบุคคล ทั้งนี้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวัน
  2. งดการรับประทานยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือวิตามินเสริมต่างๆนอกเหนือจากยาที่แพทย์สั่ง เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของไต และส่งผลต่อการรักษาได้
  3. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเสื่อมลงของไต
  4. ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคไตเรื้อรัง ควรควบคุมระดับความดันให้คงที่ เพื่อป้องกันการเสื่อมลงของไต

 

ผู้ป่วยไตเรื้อรังหรือผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม ควรพิถีพิถันในเรื่องของการเลือกทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรเลือกรับประทานโปรตีนที่เป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง ไม่ติดมัน และเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหารเป็นกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น ซึ่งรับประทานได้ในปริมาณเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับระยะของการป่วยและสุขภาพไตของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับระยะของโรคไต เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยในการชะลอการทำงานของไตและลดการเกิดภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานให้เหมาะสม อร่อย และมีความสุขได้ง่ายๆ หากเรารู้วิธีการรับประทานที่ถูกต้อง โดย สำรับไต บายโมดิช เป็นอาหารที่ตั้งใจจัดทำขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะ ทุกเมนูได้มีการคำนวณพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับผู้เป็นโรคไตมาอย่างพิถีพิถันและใส่ใจจากแพทย์โภชนาการผู้เชี่ยวชาญ นักกำหนดอาหาร และนักโภชนาการ  โดยเลือกใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่มีความสดใหม่ สะอาด ควบคุมปริมาณสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะ โปรตีน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและโซเดียม จึงช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยไตแน่นอน ที่สำคัญมีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้านในราคาไม่แพงอีกด้วย

อ้างอิง : คําแนะนําแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบําบัดสําหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.พ.]; 2563 [ปรับปรุงเมื่อมีนาคม 2563; เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.nephrothai.org

โรคไตเรื้อรัง

สำหรับใครที่ป่วยเป็นโรคไตและมีภาวะไตเสื่อม ไม่ควรพลาดการเลือกโภชนาการที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ซึ่งทางเพจสำรับไตจะช่วยออกแบบเมนูให้กับคุณ โดยมีเมนูที่หลากหลาย อร่อย และดีต่อสุขภาพไตเป็นอย่างมาก สามารถสั่งซื้อหรือเข้ามาปรึกษาได้เลยที่

เบอร์โทร : 085-804-6542

Line : @modishshop (มี@ด้านหน้า)

เพจ : https://web.facebook.com/Samrubtai