ปัจจุบันพบว่ามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเยอะมาก จากข้อมูลประชากรทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากกว่า 425 ล้านคนและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนต่อปี โดยพบว่าประชากรในวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11  คนจะเป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานกว่าร้อยละ 50 ก็จะไม่ทราบว่าตนนั้นกำลังเป็นโรคเบาหวานอยู่ ซึ่งคุณอาจจะเป็นหนึ่งในนั้นก็ได้ โดย สาเหตุ โรคเบาหวาน นี้เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถที่จะควบคุมระดับน้ำตาลภายในเลือดให้เป็นปกติได้ ซึ่งจะเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือการที่มีภาวะดื้ออินซูลินจนก่อให้เกิดการอักเสบต่อหลอดเลือดและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ 20-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นแล้วการที่เป็นเบาหวานเป็นระยะเวลานาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือค่าน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านมาดูว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานแต่ละชนิดนั้นเกิดจากอะไรบ้าง รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วย

สาเหตุ โรคเบาหวาน แต่ละชนิด

สาเหตุ โรคเบาหวาน จะเป็นภาวะที่มีน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงเกินกว่าปกติจากการที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินลดลงหรืออาจจะไม่สร้างเลย ร่วมกับภาวะดื้อต่ออินซูลินคือการที่อินซูลินที่ร่างกายผลิตได้นั้นออกฤทธิ์ลดลง โดยโรคเบาหวานนี้เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดจำเป็นที่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังในหลายอวัยวะด้วยกัน เช่น ตาบอด ไตวายเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด เป็นต้น และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคเบาหวานก็จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชนิดตามสาเหตุของการเกิดโรคที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคเบาหวานที่มีสาเหตุอื่นๆ และโรคเบาหวานขณะการตั้งครรภ์นั่นเอง

สาเหตุ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องฉีดอินซูลินเข้ากระแสเลือดอยู่สม่ำเสมอ และโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้จะพบได้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานและมักจะพบในผู้ที่อายุน้อยและน้ำหนักน้อย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะการดื้ออินซูลินที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมโรคเบาหวานร่วมกับพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ยังมักพบในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งจะมีค่า BMI มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และโรคเบาหวานชนิดนี้จะพบได้บ่อยที่สุดมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด

โรคเบาหวานเกิดจาก

โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะอื่นๆ

การเกิดโรคเบาหวานชนิดนี้จะมีหลายๆ สาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อที่ตับอ่อน, ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจากการใช้ยาบางชนิด ซึ่งตับอ่อนเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญต่อการผลิตอินซูลิน เมื่อเกิดการอักเสบจะส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเบาหวานในที่สุด

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นเฉพาะการตั้งครรภ์ และมักเกิดเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ถึงไตรมาสที่ 2-3 โดยสามารถหายเป็นปกติเมื่อคลอดบุตรแล้ว แต่อาจจะส่งผลให้บุตรที่คลอดออกมานั้นมีน้ำหนักตัวเยอะและน้ำตาลต่ำได้ แม่ตั้งครรภ์จึงควรควบคุมอาหารให้ดี อย่างไรก็ตามใครที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคตอีกด้วย

สาเหตุโรคเบาหวาน

4 วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

วันนี้เราจึงมีวิธีการตรวจคัดกรองโรคหรือการวินิจฉัยโรคเพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีและจะได้ช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนจากโรคได้ โดยวิธีการวินิจฉัยโรคเบาหวานสามารถทำได้ 4 แบบดังต่อไปนี้

1.ตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานหลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงแล้ว หากมีค่าระดับน้ำตาล 100-125 มก./ดล. เสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน และหากมีค่าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน

2.การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส

การวินิจฉัยแบบนี้จะทำในผู้ที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดก่อน 1 เข็ม แล้วจึงให้ดื่มสารละลายกลูโคส หลังจากนั้นจะทำการเจาะเลือดซ้ำอีกครั้งที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม หากพบว่ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน

3.การตรวจน้ำตาลเวลาใดเวลาหนึ่ง

การวินิจฉัยวิธีนี้หากพบว่ามีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น การปัสสาวะบ่อย, กระหายน้ำบ่อย, ตาพร่ามัว, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด แสดงว่าบุคคลนั้นกำลังเป็นโรคเบาหวานอย่างแน่นอน

4.การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม

การวินิจฉัยโรคเบาหวานวิธีนี้จะแตกต่างจากวิธีอื่นๆ เนื่องจากไม่จำเป็นจะต้องอดอาหารแต่แพทย์ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น อายุ, การเป็นโรคโลหิตจาง โดยหากค่าที่ได้ตรวจวัดนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน

โดยค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตนเองจากการเจาะปลายนิ้วหรือตรวจในสถานพยาบาล มักจะแนะนำให้งดอาหารก่อนตรวจ 8 ชั่วโมง สำหรับคนปกติค่าน้ำตาลในเลือดควรไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากมีระดับตั้งแต่ 101-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรจะจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แต่หากมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไปจะเข้าเกณฑ์ว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรหมั่นที่จะสังเกตร่างกายของตนเองว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอและจะต้องดูแล/ควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานด้วย

จะเห็นได้ว่าคนไทยเรานั้นเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เยอะมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าโรคเบาหวานชนิดที่สองนี้สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้เพียงแค่ควบคุมน้ำหนักและอาหาร โดยสาเหตุ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด เพราะฉะนั้นแล้วการรักษาเบาหวานที่แนะนำก็คือการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนเพื่อให้ตับอ่อนนั้นสามารถที่จะผลิตอินซูลินได้ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อระดับน้ำตาลในเลือด ร่วมกับผู้ป่วยจะต้องมีการควบคุมอาหารและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล แต่ยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนั่นเอง ทั้งนี้คุณสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการมาดูแลเรื่องอาหารให้กับคุณได้ด้วยการสั่งอาหารจาก Modish Food Design ที่มีแพทย์โภชนาการผู้เชี่ยวชาญ นักกำหนดอาหาร และนักโภชนาการ คอยจัดสรรเมนูที่ดีที่สุดให้กับคุณ โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ มีคุณภาพ ควบคุมปริมาณน้ำตาลและสารอาหาร     อย่างเหมาะสมกับตัวบุคคลและโรคที่เป็น ทำให้ทุกมื้อของคุณอิ่มอร่อยได้อย่างสบายใจ และสามารถเข้ามาพูดคุย ปรึกษาเรื่องโภชนาการได้อีกด้วย โดยสั่งซื้อหรือสอบถามได้ที่

โทร : 090-919-7414

Line ID : @modishfooddesign (มี@ด้านหน้า) หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40rje5924p

เพจ FB : https://www.facebook.com/modishfooddesign