บะหมี่โอ๊ตไฟเบอร์กับอกไก่อบเต้าเจี้ยวเห็ดหอม

อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ  เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจนั้นมีความพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆ ซึ่งสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด เพื่อนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย

ดังนั้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือมีความผิดปกติของหัวใจ จึงควรมีแนวทางรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิตให้คงที่ รวมทั้งเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายและภาวะหัวใจล้มเหลว

รู้จักกับโรคหัวใจ (Heart Disease)

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจแต่ละประเภทกัน เพื่อช่วยให้เลือกทานอาหารผู้ป่วยโรคหัวใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น โรคหัวใจจะมีความผิดปกติและอาการที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้ ดังนี้

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Blood vessel disease)

สาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดสารอาหาร และออกซิเจนที่หล่อเลี้ยงหัวใจ จึงส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ และการสูบฉีดเลือดเกิดความขัดข้องจนไม่สามารถหล่อเลี้ยงไปอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจึงมักมีอาการ แน่นและอึดอัดคล้ายกับมีสิ่งของหนักมาทับอยู่กลางอก อาการปวดร้าวไปตามกราม แขน และลำคอ โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและมีอาการหน้ามืดหมดสติได้

  1. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias)

โรคหัวใจประเภทนี้ เป็นภาวะที่หัวใจเกิดการเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เกิดจากการทำงานที่บกพร่องของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจและส่งผลให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ตามร่างกายลดลง จึงทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย ซึ่งอันตรายถึงขั้นหัวใจวายได้

  1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Disease of the heart muscle)

เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะผนังหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้หรือหล่อเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ ซึ่งถ้าหากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายใน 20 นาที จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นตายและผู้ป่วยอาจถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด โดยอาการสำคัญที่พบคือ อาการเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้ายหรือกลางอก อาการปวดร้าวที่แขน กราม หรือคอด้านซ้าย รวมถึงมีอาการเหนื่อยขณะออกแรง วูบหมดสติหรือร้ายแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น

  1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)

เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาโครงสร้างหัวใจของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรม การได้รับยาหรือสารเคมีในช่วงก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์ การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โรคประจำตัวหรืออาการเจ็บป่วยของมารดา เป็นต้น โดยอาการในเด็กที่สามารถสังเกตได้ เช่น สีผิวซีดเทาเขียว อาการบวมที่ขา หน้าท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา มีอาการหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่ายหรือหายใจไม่ออกเมื่อออกกำลังกาย เป็นต้น

  1. โรคลิ้นหัวใจ (Valve Heart Disease)

ลิ้นหัวใจที่ผิดปกติจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจที่มีมาแต่โดยกำเนิด อาการที่มักจะเกิดขึ้น ได้แก่ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจติดขัด สมรรถภาพในการทำงานและการออกกำลังกายถดถอยลง ใจสั่น ตัวบวม ขาบวม ท้องอืดและเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้

  1. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ (Heart infection)

โดยทั่วไปโรคหัวใจประเภทนี้มักมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก่อนแล้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจะเดินทางมาเกาะติดกับลิ้นหัวใจจนเกิดลิ้นหัวใจอักเสบได้ อาการส่วนใหญ่ที่พบ เช่น เป็นไข้หนาวสั่น อ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ สมองเป็นอัมพาต แขนและขาขาดเลือด จนนำไปสู่อาการหัวใจวายได้

จะเห็นได้ว่า โรคหัวใจนั้นเกิดได้ทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่าง พันธุกรรมและ ความผิดปกติแต่กำเนิด รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถควบคุมได้ เช่น การสูบบุหรี่ การออกกำลังกายรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และอาหารที่ทานในแต่ละวัน ดังนั้นอาหารผู้ป่วยโรคหัวใจจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารดังต่อไปนี้

อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจที่ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนย มาการีน ครีม กะทิ เป็นต้น เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือดอันเป็นสาเหตุของเส้นเลือดตีบตัน ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจวายหรือโรคอัมพาต
  • อาหารปรุงรสจัด มีปริมาณโซเดียมสูงเกินความจำเป็น เช่น อาหารหมักดอง อาหารรสหวานจัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เป็นต้น

อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจที่ควรทาน

ข้าวควินัวสเต็กกะพง ซอสแจ่วมาโย

  • อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงและไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น ไก่ ปลา เต้าหู้ นมพร่องมันเนย ไข่ขาว ไข่ (โดยรับประทานไข่แดงไม่เกิน 3 ฟอง/สัปดาห์)
  • อาหารที่มีเส้นใย โดยรับประทานผักและผลไม้สดให้มากขึ้น เพราะเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่และเส้นใยอาหาร รวมถึงมีสารที่เรียกว่า Phytochemicals ที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ข้าวและขนมปังที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต หรือขนมปังโฮลวีทที่มีเส้นใยอาหารและยังมีวิตามินเกลือแร่อีกหลายชนิด
  • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ อาหารที่มีวิตามิน A E และ C พบมากในฟักทอง แครอท ผักโขม ฝรั่ง กีวี่ ส้ม รวมถึงน้ำมันจากเมล็ดพืชอย่าง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น

นอกจากนี้ อาหารผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรมีปริมาณพลังงานที่พอเหมาะต่อสมต่อร่างกาย เพื่อให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างเต็มที่และป้องกันการกักเก็บพลังงานส่วนเกินในรูปไขมัน โดยสามารถควบคุมพลังงานของสารอาหารได้ตาม เพศ ช่วงวัยหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • วัยรุ่นชาย/หญิงและชายวัยทำงาน ควรได้รับพลังงานประมาณ 2,000 kcal/วัน
  • หญิงวัยทำงานหรือผู้สูงอายุ ควรได้รับพลังงาน 1,600 kcal/วัน
  • ผู้ใช้แรงงานหนักและนักกีฬา ควรได้รับพลังงาน 2,400 kcal/วัน

ทั้งนี้ แม้ว่าอาหารผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีข้อจำกัดด้านสารอาหารและปริมาณพลังงานแล้ว ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการเลือกวัตถุดิบที่ใช้ปรุงประกอบอาหารให้เหมาะสม หากไม่สามารถจัดหาอาหารผู้ป่วยโรคหัวใจเองได้ สามารถสั่งอาหารเฉพาะโรค Delivery จาก Modish Food Design ที่มีการปรับและออกแบบสารอาหารให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ออกแบบโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและทีมนักกำหนดอาหาร ร่วมกับทีมเชฟมืออาชีพ จึงได้เมนูอาหารผู้ป่วยโรคหัวใจที่รสชาติอร่อย สดใหม่และดีต่อสุขภาพในทุกๆ วัน

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและต้องการสั่งอาหาร Delivery กับ Modish Food design สามารถสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 090-919-7414

Line ID : @modishfooddesign (มี@ด้านหน้า) หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40rje5924p

IG : modishfooddesign